kobsub.com
เหรียญรูปเหมือน รุ่นตั้งใจรวย 100% เนื้อทองแดง เซี...
1,800.00 THB
เหรียญฆราวาสขมังเวทย์ชาวจีนที่ได้รับความนิยมในเมืองไทย แม้จะมีอยู่ไม่มาก แต่ล้วนเป็นที่นิยมเล่นหาของบรรดานักสะสมและลูกศิษย์ผู้เคารพศรัทธาทั้งสิ้น อย่างเช่น เซียนแป๊ะโค้ว หรือ "เซียนเอี้ยะฮง"แห่งโรงเจหัวตะเข้ ตลาดลาดกระบัง ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 4-5 ท่านบำเพ็ญเพียรจนถึงขั้นพระโพธิสัตว์ โดยนั่งละสังขารและร่างกายไม่เน่าเปื่อย ถึงขนาดฝรั่งขอซื้อสรีระท่านในราคาสูงถึง 10 ล้านบาท เหรียญของท่านกล่าวขานกันว่า ดีทางเสี่ยงโชค
อีกท่านหนึ่งคือ อาจารย์โง้วกิมโคย หรือ"เซียนแปะโรงสี" ฆราวาสจอมขมังเวทย์ที่ชาวไทยเชื้อสายจีนแถวเยาวราช และชาวเมืองปทุมธานีให้ความเคารพท่านอย่างสูงยิ่ง ท่านมีลูกศิษย์มากมายโดยเฉพาะในหมู่พ่อค้า บรรดาผู้คนจากที่ต่างๆทั้งในและต่างประเทศพากันมาหาท่านเพื่อขอคำชี้แนะเกี่ยวกับฮวงจุ้ยและทำเลที่ตั้ง โดยผู้ที่ท่านชี้แนะจะประสบความสำเร็จ กิจการรุ่งเรือง และเป็นที่รู้จักในวงการค้า
เชื่อกันว่าท่านมีองค์ประทับอยู่ซึ่งก็คือเจ้าพ่อปู่ของศาลเจ้าพ่อ วัดศาลเจ้า ปทุมธานี โดยในงานประจำปีท่านจะจุดธูปเพื่อปัดเป่าลมฝน ปรากฏว่าฝนจะไม่ตกและท้องฟ้าแจ่มใส
เล่ากันว่า เจ้าสัวซีพีเคารพศรัทธาท่านในฐานะอาจารย์ โดยสร้างเหรียญรุ่นแรก พิมพ์หยดน้ำถวาย และห้อยเหรียญของท่านติดตัวไวัเสมอ ท่านเป็นผู้แก้ไขฮวงจุ้ยจนเจ้าสัวรวยระดับประเทศ และนับเป็นอาจารย์คนแรกของเครือซีพีที่เป็นคนดูโหงวเฮ้งพนักงานก่อนที่จะรับเข้าทำงาน นอกจากนี้ เวลาที่เจ้าสัวซื้อที่ดิน แต่ละที่ล้วนแล้วแต่มีอาถรรพ์ เจ้าสัวก็จะนิมนต์หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี และหลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง ไปสวดคาถาไล่อาถรรพ์ และท่านอาจารย์โง้วกิมโคยก็จะทำยันต์แก้ฮวงจุ้ยแก้อาถรรพ์ติดไว้เสมอ
ท่านมียันต์ประจำตัวคือ "ยันต์ฟ้าประทานพร" กล่าวกันว่า ผู้ใดพกพา หรือติดตั้งอยู่ในสถานที่ใดจะพบแต่ความเจริญรุ่งเรือง นำพาโชคลาภเงินทอง รวมถึงสามารถใช้แก้ฮวงจุ้ยเสริมดวง นอกจากนี้ยังขึ้นชื่อทางด้านกันไฟและสิ่งไม่ดีทุกชนิด
จากข้อมูลประวัติของท่านที่ใส่กรอบติดไว้ภายในศาลานที ทองศิริ (เซียนแปะโรงสี) บริเวณตลาดน้ำวัดศาลเจ้า จ.ปทุมธานี เรียบเรียงจากคำบอกเล่าของลูกหลานและศิษย์ ชื่อท่านคือ "นายกิมเคย แซ่โง้ว" เกิดที่ประเทศจีน ตำบลเท้งไฮ้ ได้เข้ามาประเทศไทยตั้งแต่เด็กอายุประมาณ 10 ปี เมื่อเติบโตพอที่จะประกอบอาชีพได้ ก็ได้รับจ้างทั่วไปรวมทั้งค้าข้าวเปลือก กิจการค้าข้าวเปลือกดีขึ้น จึงได้ร่วมหุ้นทำกิจการโรงสีข้าวที่ปากคลองบางโพธิ์ล่าง ปัจจุบันเป็นตำบลบางเดื่อ จังหวัดปทุมธานี และเมื่ออายุประมาณ 22 ปี ได้สมรสกับนางนวลศรี เอี่ยมเข่ง มีบุตรด้วยกัน 10 คนคือ
1. นายเซียมจึง สมบูรณ์ธีระ 2. เสียชีวิตตอนเด็ก 3. นายธนิศ ทองศิริ 4. เสียชีวิตตอนเด็ก 5. นางยุพา แซ่แต้ 6. นายรัตน์ ทองศิริ 7.นางยุพิน ภิญโญชีพ 8.เสียชีวิตตอนเด็ก 9.เสียชีวิตตอนเด็ก 10. นางยุวดี ทองคำปั้น
พร้อมทั้งได้ย้ายมาประกอบกิจการโรงสีไฟของตนเอง ที่ปากคลองเชียงรากเยื้องๆกับวัดศาลเจ้า โรงสีตั้งอยู่บนตำบลบางกะดี ในนามของ “โรงสีไฟทองศิริ” และได้โอนสัญชาติไทย พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น “นายนที ทองศิริ" กิจการโรงสีดีขึ้น และมั่นคงขึ้นมาก เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เรียกขนานนามท่านว่า “เถ้าแก่กิมเคย” หรือ “แปะกิมเคย” แม้ว่าท่านจะเป็นคนจีนดั้งเดิมแต่ท่านก็ชอบทานหมากพลูเช่นชาวไทยทั่วไป
ในยุคนั้นหน้าวัดศาลเจ้า ริมแม่น้ำเจ้าพระยา กระแสน้ำเชี่ยวและเป็นวังวนมีศาลเจ้าไม้เล็กๆอยู่(ตามประวัติศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้า) ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ศาลเจ้าพ่อปู่” ชาวจีนเรียกว่า “ปึงเถ่ากงม่า” เมื่อท่านมีเวลาจะมาบูรณะและคลุกคลีอยู่ที่ศาลเจ้าเป็นประจำ เนื่องจากท่านเป็นคนชอบช่วยเหลือคน ชอบทักทาย และชี้แนะให้ทุกคนประกอบแต่ความดี เป็นที่เคารพและศรัทธาของผู้คนทั่วไป
ในช่วงนั้นการคมนาคมยังไม่สะดวก ส่วนใหญ่การเดินทางจะเป็นทางน้ำ การบูรณะศาลเจ้าพ่อศาลเจ้าจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่ท่านก็ได้ดำเนินการอย่างไม่หยุดหย่อน และได้ใช้การพายเรือไปช่วยเหลือผู้คนตามสถานที่ต่างๆ จึงมีผู้มีจิตศรัทธาช่วยท่านให้สามารถบูรณะศาลเจ้าพ่อศาลเจ้าไม้เล็กๆ ริมน้ำมาเป็นศาลเจ้าที่เป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่ได้
นอกจากการบูรณะศาลเจ้าแล้ว ท่านยังเป็นผู้กำหนดวันในการจัดงานประจำปีของศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้าเป็นวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 1 ถึงวันขึ้น 8 ค่ำเดือน1 รวม 4 วัน 4 คืน ซึ่งทางชาวจีนเรียกช่วงนี้ว่า “เจียง่วย ชิวโหงว ถึง เจียง่วย ชิวโป้ย” และถือเป็นประเพณีตลอดมา
ในการจัดงานประจำปี บางปีจะมีลมฝนมืดครึ้มคาดคะเนกันว่าจะมีพายุใหญ่ ท่านก็จะจุดธูปเพื่อปัดเป่าลมฝนไป ซึ่งฝนก็จะไม่ตก ท้องฟ้าแจ่มใส ผู้คนที่พบเห็นแจ้งว่าท่านอยู่ระหว่าง “เข้าทรง” โดยเชื่อว่าท่านมีองค์ประทับอยู่ และยังเชื่อกันอีกว่าองค์ที่ประทับอยู่นั้นเป็นเจ้าพ่อปู่ของศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้านั่นเอง เมื่อผู้คนที่มีความเชื่อมั่นและศรัทธา ขยายวง กล่าวออกไปในหมู่พ่อค้าทุกๆวงการค้า ทำให้ท่านมีศิษย์มากขึ้นและต่างเรียกท่านว่า “หวยลั้งเซียน”
เมื่อการคมนาคมสะดวกขึ้น ผู้ที่ศรัทธาท่านจากแหล่งต่างๆ มาพบท่านและให้ท่านช่วยเหลือ ชี้แนะเกี่ยวกับฮวงจุ้ย ที่ตั้งบริษัท บ้าน ห้างร้าน และดูทำเลที่ตั้งฮวงซุ๊ยของบรรพบุรุษ ท่านก็ไปให้คำแนะนำและชี้แนะทุกรายไป แม้กระทั่งไปต่างประเทศ ท่านก็ยังขึ้นเครื่องบินไปตามคำร้องขอซึ่งต้องจัดเตรียมหมากพลูไปด้วย ท่านช่วยเหลือบรรดาศิษย์ทุกๆ ท่านโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย และไม่มีค่าตอบแทนใดๆ ผู้ที่ท่านชี้แนะมักประสบความสำเร็จในธุรกิจ กิจการรุ่งเรืองเป็นที่รู้จักในวงการค้าทั่วไป พร้อมทั้งบอกเล่าต่อๆกันไป
ผู้ที่เคารพศรัทธาเรียกท่านว่า “อาแปะ” พร้อมทั้งขนานนามท่านว่า “เซียนแปะ” จนกระทั่งทุกวันนี้
เมื่อประมาณปี พ.ศ.2518 ท่านได้ก่อสร้างตึกศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้าใหม่ โดยปรับปรุงจากเรือนไม้เป็นอาคาร 8 เหลี่ยม ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่ศรัทธาท่านและศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ทุกๆวงการรวมทั้งบุตรหลานในครอบครัวของท่าน โดยใช้เงินในการก่อสร้างกว่า 7 แสนบาท ก่อสร้างเสร็จเมื่อต้นปี พ.ศ.2519 พร้อมทั้งทำพิธีเปิดในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2519
“เซียนแปะ” เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายผ่ายผอมลง หลังโค้งงอ แต่ก็ยังคงช่วยเหลือชี้แนะบรรดาศิษย์และผู้คนทั่วไปโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยเช่นที่เคยปฏิบัติมาตลอดอย่างเสมอต้นเสมอปลาย จนเป็นที่เคารพรักของบรรดาศิษย์ทุกคน จนกระทั่งอายุ 85 ปี เมื่อปลายปี พ.ศ.2525 ท่านเริ่มมีอาการอ่อนเพลียจนต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลพญาไทจนถึงเวลา 05.30 น.ของเช้าวันที่ 16 มกราคม 2526 ท่านก็ได้จบชีวิตลง จากครอบครัวและบรรดาศิษย์ทุกคนไปด้วยความสงบ นับเป็นการสูญเสียที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
หลังจากเสร็จพิธีงานศพท่าน บรรดาศิษย์และครอบครัว ได้ทำการก่อสร้างศาลาเอนกประสงค์ไว้ที่หลังศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้า โดยใช้ชื่อว่า “ศาลานที ทองศิริ” พร้อมทั้งตั้งรูปปั้นจำลองขนาดเท่าตัวจริงเพื่อไว้ให้เป็นที่สักการะ และเป็นที่พึ่งทางจิตใจแก่บรรดาศิษย์และผู้คนทั่วไป
ทุกวันนี้ “เจียง่วย ชิวโหงว ถึง เจียง่วย ชิวโป๊ย” เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปของศิษย์และชาวบ้านชาววัดศาลเจ้าใกล้เคียงที่ยังคงระลึกถึงท่าน จะพร้อมใจกันมานมัสการท่านพร้อมทั้งมาร่วมงานประจำปี ซึ่งมีการแสดงงิ้วของศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้า “เซียนแปะ” เป็นผู้กำหนดวันไว้ตราบจนทุกวันนี้
ทั้งนี้ ใครที่อยากเฮงๆ รวยๆ โดยที่ไม่อยากแขวนพระ หรือมีเรื่องติดขัดด้านทุนทรัพย์ ก็ไปกราบขอพรที่ศาลเจ้าอาแปะโรงสี"โง้วกิมโคย" ได้ ที่นั่นจะมีโอ่งอักษรมงคลจีนศักดิ์สิทธิ์มีพลังงานเข้มขลังด้านในจะมีน้ำทิพย์ฟ้าประทานพร นำมาประพรมกันได้ เฮงๆ ดี ๆ โชคดีมีโชคลาภ
วัตถุมงคลของท่านอาจารย์โง้วกิมโคยที่ได้รับความนิยมคือ เหรียญรูปเหมือนพิมพ์หยดน้ำ ถือว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกจริงๆ สร้างถวายโดยเจ้าสัวซีพี ท่านอาจารย์ปลุกเสกอย่างเข้มขลัง เป็นเหรียญเนื้อทองแดงแต่คนที่ได้ไปนำไปชุบเงิน ชุบทอง ,ล็อกเก็ตกระดาษ,รูปหล่อรุ่นแรก ปี 2521 เนื้อกะไหล่ทอง หลังยันต์ฟ้าประทาน ขนาดฐาน 2 ซม.สูง 3.5 ซม. ,รูปเหมือนบูชาฉลองอายุครบ 83ปี หน้าตัก 9 นิ้ว สร้างปี2523
นอกจากนี้ก็มี “ผ้ายันต์ฟ้าประทานพร” ใช้แก้ฮวงจุ้ยเสริมดวงได้ บางท่านเรียกผ้ายันต์กันไฟเพราะประสบการณ์เรื่องกันไฟก็เยี่ยม ผ้ายันต์นี้เป็นวิชาเอกและสร้างชื่อให้กับท่าน วัตถุมงคลของท่านทุกอย่างต้องมียันต์นี้ประทับด้านหลัง ผ้ายันต์ยุคแรกๆที่เห็นเป็นสีเหลืองจะเป็นจีวรของหลวงปู่โต๊ะหรือไม่ก็ของหลวงพ่อทองอยู่ ส่วนยุคหลังผ้ายันต์ของท่านเป็นที่ต้องการของศิษย์มากจีวรจึงไม่พอต่อความต้องการ ยุคหลังจึงมีการนำผ้าดิบสีขาวมาให้ท่านทำ
รูปถ่ายที่ขึ้นชื่อในด้านปราบผีมากๆ ไม่ว่าจะเป็นของไม่ดี ภูติผีปีศาจ แค่อัดรูปท่านโดยที่ยังไม่ต้องปลุกเสกไปให้คนที่ถูกผีเข้าดู ปรากฏว่าผีกระเจิงทุกรายไป
เหรียญยอดนิยมที่สุดคือ เหรียญรูปเหมือนปี2519 จัดเป็นอีกหนึ่งเหรียญฆราวาสที่เก่งกาจและหายากอันดับต้นๆของเมืองไทย สร้างในโอกาสฉลองอายุ 79 ปี วันที่ 9 ส.ค. (เดือน 9) ปี2519 ตัวเหรียญรูปไข่ ออกแบบเรียบง่าย แต่แฝงไว้ด้วยความขลัง ด้านหน้าเป็นรูปท่านครึ่งตัว ล้อมด้วยภาษาจีน ด้านหลังเป็นยันต์ฟ้าประทานพร พิธีปลุกเสกมีเกจิอาจารย์ดังยุคนั้นหลายองค์ร่วมอธิษฐานจิต เช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง ฯลฯ
ศิษย์ที่มีต่างหวงแหนกันมากพุทธคุณและประสบการณ์ที่บรรดาลูกศิษย์ใช้ติดตัวแล้วต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ดีทั้งทางเมตตา มหานิยม ค้าขายเจริญรุ่งเรือง โชคลาภ รวมทั้งด้านแคล้วคลาดคงกระพัน
(ที่มา-ฉัตรสยาม)
เหรียญรูปเหมือน รุ่นตั้งใจรวย 100% เนื้อทองแดง เซียนแปะโรงสี จัดสร้างโดยห้าตระกูลแซ่สำคัญของเมืองไทย ขนาด 2.5x3.5 ซ.ม.มีโค๊ดและหมายเลขกำกับทุกเหรียญครับ

กอบทรัพย์พระใหม่ (www.kobsub.com)
โทร.081-661-9989
LINE ID:kobsub
Email:kobsub@hotmail.com

ดูตะกร้าสินค้า